4 ผู้

4 ผู้

        กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการ ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เพื่อให้สถานประกอบกิจการได้จัดให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนด

ทฤษฎี 15 ชม.

  • กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ. 2564
  • มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และชนิดของปั้นจั่น
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชือกลวดสลิง โซ่ และอุปกรณ์ยก
  • บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น
  • ความปลอดภัยในการทํางาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น
  • ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น
  • ระบบไฮดรอลิกเบื้องต้น
  • ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น
  • ระบบสัญญาณเตือนและ Limit Switch
  • การใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร
  • การอ่านค่าตารางพิกัดยก
  • การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก
  • วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย
  • การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
  • การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา

ปฏิบัติ 9 ชม.

  • การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือน จริงซึ่งต้องมีการทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  • การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือน จริงซึ่งต้องมีการทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณการผูก มัด การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  • การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง ซึ่งต้องมีการทดสอบเกี่ยวกับการวางแผน การยกอย่างปลอดภัย และ พิจารณาพิกัดน้ำหนัก ที่จะทำการยกโดยกำหนดลักษณะรูปร่าง วัสดุของสิ่งของที่จะยก

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้พนักงานที่ปฎิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่นได้เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้
  • เพื่อให้ทราบถึงลักษณะชนิด มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย
  • เพื่อให้ทราบถึงลักษณะชนิดและประเภทของปั้นจั่นที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างและงานในโรงงานอุตสาหกรรม
  • เพื่อให้ทราบถึงลักษณะชนิดเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่ อุปกรณ์ยก และ การเลือกใช้ การตรวจสอบอุปกรณ์
  • เพื่อให้ทราบถึง การใช้สัญญาณมือ ให้ถูกต้องตาม ชนิดของปั้นจั่น
  • เพื่อให้นายจ้างได้ปฎิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564

แหล่งข้อมูล คลิก


คำถามนี้ พบบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆว่า 4 ผู้ คืออะไร, เครน 4 ผู้ หมายถึงใคร

1. ผู้ให้สัญญาณเครน = signal man (ทำหน้าที่ ให้สัญญาณเครน)

2. ผู้ยึดเกาะวัสดุ = rigger (ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์การยก)

3. ผู้บังคับรถเครน = crane operator คนขับเครน (ทำหน้าที่ บังคับเครน)

4. ผู้ควบคุมเครน = crane supervisor (ทำหน้าที่ ควบคุมการยก วางแผนการยก)

โดยในเมืองไทย 1 กับ 2 อาจเป็นคนเดียวกันหน้างานมักจะเรียกรวมๆ 1 กับ 2 ว่าริกเกอร์บ้าง เด็กรถบ้าง เด็กท้ายบ้าง ในยุคหลังๆ ทีมงานในแต่ละตำแหน่งจะต้องผ่านการอบรมจากวิทยากรเฉพาะทางโดย 1 กับ 2 จะอบรมอยู่ที่ 12 ชม.แต่ถ้าอยากได้ผู้อื่นๆ ต้องอบรมเพิ่มอีก 6 ชม.ต่อ 1 ผู้ (ผู้บังคับ 6 ชม. + ผู้ควบคุม 6 ชม.)หรือ ถ้าอยากได้ 4 ผู้ จะต้องอบรม 24 ชม.

แหล่งข้อมูล คลิก